งานวิจัยชี้แมมโมแกรมมะเร็งเต้านม มีโทษมากกว่าประโยชน์
ผลการวิจัยต่างประเทศล่าสุดชี้การตรวจหามะเร็งเต้มนมด้วย “ระบบแมมโมแกรม-เอ็กซ์เรย์” อาจให้โทษมากกว่าประโยชน์
ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการเอ็กซ์เรย์เพื่อตรวจหามะเร็งเต้านม หรือการทำแมมโมแรมราวๆ 37 ล้านรายต่อปี และเกือบสามในสี่ของผู้หญิงในวัยตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป เข้ารับการทำแมมโมแกรมในช่วงปีที่ผ่านมา
คำถามที่นักวิจัยทางการแพทย์ต้องการหาคำตอบ คือ การตรวจพบมะเร็งเต้านมที่เล็กมากจนใช้มือคลำไม่พบ แต่ใช้ mammogram ตรวจพบนั้น ช่วยป้องกันการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งเต้านมอย่างได้ผลจริงหรือไม่
มีงานวิจัยเรื่องแมมโมแกรมที่กระทำในประเทศแคนาดา ซึ่งถือเป็นงานใหญ่ที่สุดและละเอียดรอบคอบมากที่สุดชิ้นหนึ่ง โดยมีผู้หญิงเข้าร่วมโครงการ 90,000 รายและใช้เวลาติดตามศึกษานานถึง 25 ปี
และผลการวิจัยชิ้นนี้ที่เพิ่งเปิดเผยออกมา ระบุว่า อัตราการเสียชีวิตของผู้หญิงจากโรคมะเร็งเต้านมและจากโรคอื่นๆ ไม่แตกต่างกันไม่ว่าจะได้รับการทำแมมโมแกรมหรือไม่ งานวิจัยชิ้นนี้กล่าวต่อไปด้วยว่า การทำแมมโมแกรมยังให้โทษได้อีกด้วย เพราะพบว่า หนึ่งในห้าของผู้ที่การทำแมมโมแกรมระบุว่าเป็นมะเร็งและต้องรับการบำบัดรักษานั้น ปรากฏว่ามะเร็งที่ตรวจพบ ไม่เป็นภัยต่อสุขภาพและไม่จำเป็นต้องบำบัดรักษาด้วยการทำเคมีบำบัด การผ่าตัด หรือการฉายรังสี
ผลการวิจัยนี้ตีพิมพ์ไว้แล้วในวารสาร British Medical Journal และคำตอบที่นักวิจัยได้จากงานชิ้นนี้ ก็คือ การตรวจพบมะเร็งเต้านมที่เล็กมากจนใช้มือคลำไม่พบ แต่ใช้แมมโมแกรมตรวจพบนั้น ไม่ได้เพิ่มความได้เปรียบให้กับผู้หญิง
ความเห็นเรื่องการทำแมมโมแกรมนี้แตกแยกกันเป็นสองฝ่ายมานานแล้วในวงการแพทย์ ฝ่ายหนึ่งซึ่งมีทั้งแพทย์และคนไข้ที่เป็นมะเร็งเต้านม เชื่อว่าการทำแมมโมแกรมเป็นประจำช่วยป้องกันการเสียชีวิต ในขณะที่นักวิจัยทางการแพทย์ ซี่งมีจำนวนมากขึ้นทุกที ให้ความเห็นว่า ไม่มีหลักฐานรองรับความเชื่อดังกล่าว หรือถ้ามี ก็เป็นหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือ
บทบรรณาธิการของวารสาร British Medical Journal ที่ตีพิมพ์ควบคู่กับผลงานวิจัยชิ้นนี้ กล่าวว่า งานวิจัยก่อนหน้านี้ กระทำกันขึ้นก่อนจะมียาอย่างเช่น Tamoxifen ซึ่งช่วยลดอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งได้อย่างมาก จึงทำให้การตรวจพบแต่เนิ่นๆ มีความสำคัญน้อยลง
ขณะเดียวกัน ผู้หญิงสมัยนี้มีความเข้าใจในอันตรายของโรคมะเร็งเต้านมมากขึ้น และเอาใจใส่กับร่างกายของตนได้ดีกว่าและมากกว่าผู้หญิงในสมัยก่อน นอกจากนี้ งานวิจัยเป็นจำนวนมากไม่ได้ยึดถือมาตรฐานการทดลองอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะในการสุ่มตัวอย่างจัดกลุ่มที่ได้รับการทำแมมโมแกรมกับกลุ่มที่ไม่ได้รับการทำแมมโมแกรม
นักวิจัยยังพบด้วยว่า มีมะเร็งหลายชนิด ที่เติบโตอย่างเชื่องช้า หรือไม่เติบโตเลยและไม่ต้องบำบัดรักษา มะเร็งบางชนิดหดตัวลงเองหรือหายไปเลยก็มี ปัญหาก็คือ เมื่อทำแมมโมแกรมและพบมะเร็ง แพทย์ต้องให้การบำบัดรักษา เพราะไม่มีทางที่จะรู้ได้ว่า จะเป็นมะเร็งอันตรายหรือไม่
อัตราการบำบัดรักษาในลักษณะนี้เพิ่มสูงขึ้นเป็นหนึ่งในสาม ถ้ารวมผลการตรวจพบมะเร็งในท่อน้ำนมในเต้านม ที่เรียกว่า Ductal Carcinoma in situ (D.C.I.S.) ซึ่งต้องใช้การทำแมมโมแกรมเท่านั้นจึงจะพบ ปัญหาก็คือมะเร็งชนิดนี้อาจจะหลุดออกจากท่อน้ำนมเข้าไปในเต้านม หรืออาจไม่เข้าไปเลยก็ได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อตรวจพบด้วยการทำแมมโมแกรม แพทย์มักจะทำการผ่าตัดถึงขั้นตัดเต้านมออก
อย่างไรก็ตามเรื่องควรจะรับการทำแมมโมแกรมหรือไม่นี้ยังไม่มีข้อยุติ ในเวลานี้มีแต่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ประเทศเดียวที่ออกมาแนะนำว่า ไม่ควรทำ ในขณะที่ American Cancer Society มีคำแถลงออกมาว่า กำลังทบทวนผลการวิจัยนี้และจะมีคำแนะนำที่ปรับเปลี่ยนออกมาให้ในเวลาต่อไปภายในปีนี้
ที่มาของบทความ: http://www.theguardian.com/commentisfree/2014/apr/28/breast-cancer-mammograms-early-detection-research
ข้อแนะนำ
กันไว้ดีกว่าแก้ หากคุณผู้หญิงกลัวจะมีมะเร็งเต้านมเป็นของตัวเอง และไม่อยากเสี่ยงกับอันตรายจากรังสีในการตรวจแมมโมแกรม เราก็มีทางเลือก คือการตรวจเต้านมด้วยตนเอง (ตามวิธีที่จะอธิบายต่อไป) หรือ ทานอาหารเสริม ที่มี สารสกัด “เซซามิน” ซึ่งเป็นสารสกัดจากงาดำ มีงานวิจัยรับรองว่า เซซามินช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็ง โดยทำให้เซลล์มะเร็งมีอายุสั้น (ทำให้เซลล์มะเร็งเข้าสู่วงจร Dead Cell) และควรทานอาหารเเสริมที่มีส่วนผสมของรำข้าวสีนิล ด้วย ซึ่งจากงานวิจัยที่ใช้เทคโนโลยี่ ที่เรียกว่า high througput screening และในสัตว์ทดลอง พบว่า สารในกลุ่มของ anthocyanins 2 ชนิดคือ Peonidin-3-glucoside และ cyaniding-3-glucoside สามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งเต้านมชนิดที่มี Human epidermal growth factor receptor 2 (HER2) แสดงออกมากกว่าปรกติได้
วิธีการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง
การตรวจเต้านมด้วยตนเอง ควรทำอย่างสม่ำเสมอโดยทำการตรวจเดือนละ 1 ครั้ง ในช่วงตั้งแต่มีประจำเดือนประมาณ 7-10 วัน โดยเริ่มนับตั้งแต่วันแรกของการมีประจำเดือน หรือตรวจในช่วงที่รู้สึกว่าเต้านมนิ่มลง เนื่องจากในช่วงระยะเวลานั้นเต้านมจะไม่ตึงตัวมากจึงสามารถคลำก้อนได้ชัดเจน หรือคลำก้อนที่มีขนาดที่ยังเล็กได้โดยง่าย
ส่วนผู้ที่เข้าสู่วัยทองซึ่งประจำเดือนหมดไปแล้ว หรือได้รับการผ่าตัดมดลูกไปแล้ว ให้กำหนดวันที่แน่นอนสำหรับการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือนเพื่อการจดจำง่าย และให้ตรวจวันเดียวกันของทุกเดือน เช่น วันที่ 1 ของเดือน หรือวันสุดท้ายของเดือน เป็นต้น
ขั้นตอนแรกของการตรวจเต้านมด้วยตนเอง คือ การสังเกตความผิดปกติด้วยการดูลักษณะภายนอกของเต้านม
การดู
โดยให้ยืนตรงมือแนบลำตัว สังเกตลักษณะของเต้านมว่ามีการเปลี่ยนแปลงของหัวนมหรือไม่ ลักษณะของผิวหนังมีรอยบุ๋ม มีก้อนนูน ผิวหนังบวม มีแผลหรือมีเส้นเลือดสีดำใต้ผิวหนังมากเพิ่มขึ้นที่ผิดปกติหรือไม่
การดูให้สังเกตเปรียบเทียบเต้านมทั้งสองข้างว่าแตกต่างผิดไปจากเดิมหรือไม่ด้วย ทำการหันตัวเล็กน้อยเพื่อสามารถมองเห็นด้านข้างของเต้านมทั้งสองข้างได้อย่างชัดเจน สังเกตการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังและรอยบุ๋มเช่นเดียวกัน
จากนั้นให้ยกมือขึ้นทั้ง 2 ข้าง เพื่อสังเกตความผิดปกติของรอยบุ๋มของผิวหนังบริเวณเต้านมที่เกิดจากการดึงรั้ง เนื่องจากในรายที่เป็นมะเร็งอาจจะมีการดึงรั้งของเนื้อเยื่อให้เกิดรอยบุ๋มได้
เอามือท้าวสะเอวเพื่อให้กล้ามเนื้อหน้าอกตึงตัว แล้วโน้มตัวไปข้างหน้าเพื่อให้สังเกตรอยดึงรั้งของผิวหนังได้ง่ายขึ้น เมื่อไม่พบความผิดปกติจากการสังเกตดูที่เต้านมแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการคลำที่เต้านม
การคลำ
การตรวจเต้านมควรทำทั้งในท่านั่งและท่านอน สิ่งที่สำคัญของการตรวจ คือ การตรวจให้ทั่วพื้นที่ของบริเวณเต้านม โดยใช้ด้านฝ่ามือของนิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง บริเวณค่อนไปทางปลายนิ้ว เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่ไวต่อการสัมผัส การคลำเต้านมจะต้องคลำให้ทั่วทั้งพื้นที่ของเต้านม ในลักษณะคลึงวนเป็นก้นหอยเล็ก ๆ ไปตามเต้านม เนื่องจากตำแหน่งของเต้านมที่อยู่บนผนังทรวงอกเป็นตำแหน่งที่สามารถตรวจพบมะเร็งเต้านมได้
สังเกตความผิดปกติว่ามีของเหลว หรือเลือดออกจากหัวนมในขณะที่กดบริเวณปานนมหรือไม่ การบีบบริเวณหัวนมควรทำด้วยความนิ่มนวล ไม่ควรบีบเค้นบริเวณหัวนมอย่างรุนแรง เพราะหากมีความผิดปกติจะพบว่ามีน้ำหรือเลือดออกจากหัวนมเมื่อมีการกดโดยไม่ต้องบีบเค้น
ในท่านั่ง ใช้นิ้วมือคลำบริเวณเต้านม ส่วนที่อยู่ใต้รักแร้ว่ามีก้อนหรือต่อมน้ำเหลืองที่โตผิดปกติหรือไม่ โดยการห้อยแขนลงมาเพื่อให้กล้ามเนื้อหน้าอกหย่อนลง เนื่องจากหากกล้ามเนื้อตึงเกินไปจะไม่สามารถคลำรักแร้ได้อย่างชัดเจน
จากนั้นทำการตรวจโดยการนอนบนที่นอนยกแขนหนุนศีรษะ ในท่านี้อาจจะใช้ผ้าขนหนูม้วน หรือใช้หมอนขนาดเล็กสอดรองที่บริเวณหลังและไหล่ข้างที่ต้องการตรวจ เพื่อทำให้บริเวณทรวงอกด้านนั้นแอ่นขึ้นมาเล็กน้อย จะสามารถคลำได้ชัดเจนดียิ่งขึ้น
การคลำเต้านม จะใช้นิ้วมือ 3 นิ้ว คลำในลักษณะคลึงวนเป็นก้นหอยเล็ก ๆ บริเวณเต้านมให้ทั่วทั้งเต้านม ในระดับความแรง 3 ระดับ คือ ระดับตื้นลงไปจากผิวหนังเล็กน้อย ระดับที่ลึกลงไป และระดับที่ลึกถึงผนังหน้าอก โดยทิศทางในการคลำสามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งสามารถเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งก็ได้
คลำในแนวก้นหอย
โดยสามารถคลำได้ในทิศทางทั้งทวนเข็มนาฬิกา หรือตามเข็มนาฬิกาก็ได้
การคลำในแนวดิ่ง
จากใต้เต้านมจนถึงกระดูก ไหปลาร้า คลำจากบนลงล่าง หรือจากล่างขึ้นบนก็ได้
คลำในแนวรูปลิ่ม
ทิศทางเป็นเส้นตรงรัศมีในออกนอก หรือนอกเข้าในก็ได้เช่นเดียวกัน
สำหรับผู้ที่มีเต้านมใหญ่หรือเนื้อเต้านมมาก แนะนำให้นอนตะแคงโดยเอาด้านข้างของลำตัวด้านนั้นให้สูงขึ้น เพื่อที่จะคลำด้านข้างได้ชัดเจน เนื่องจากเนื้อเต้านมจะไปกองอยู่ที่บริเวณด้านข้างทำให้คลำได้ยาก ใช้วิธีคลำให้คลำลงล่างและขึ้นบนไปมาจนทั่วบริเวณ จากนั้นให้นอนหงายเพื่อคลำด้านในให้ทั่วเช่นเดียวกัน
การตรวจเต้านมด้วยตนเอง เป็นการตรวจที่จะเกิดประโยชน์อย่างมาก หากได้ทำการฝึกฝนเป็นประจำและสม่ำเสมอจนชำนาญ เพื่อให้ทราบสภาพของเต้านมตนเอง และเมื่อพบสิ่งผิดปกติที่เปลี่ยนแปลงไปจะสามารถสังเกตได้โดยง่าย สิ่งที่สำคัญของการตรวจเต้านมด้วยตนเอง คือ ทำการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกวิธี เดือนละ 1 ครั้ง และคลำไปให้ทั่วบริเวณเต้านมและรักแร้
ในกรณีที่ตรวจพบความผิดปกติ หรือสงสัยในสิ่งที่ตรวจพบว่าอาจจะมีความผิดปกติเกิดขึ้น ท่านควรจะไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจซ้ำหรือตรวจเพิ่มเติม เพื่อให้การวินิจฉัยและให้คำแนะนำที่ถูกต้องแก่ท่านต่อไป