รู้จักกับ “ข้าวสีนิล”

“ข้าวสีนิล” ข้าวเมล็ดสีม่วงดำสวยแปลกตา รสสัมผัสหนึบหนับ ใครจะรู้หรือไม่ว่าเป็นอาหารอันทรงคุณค่า มากด้วยคุณประโยชน์ แถมยังแปรรูปได้หลากหลาย เรามารู้จักเจ้าข้าวสีนิลนี้ให้มากกว่าเดิมกันค่ะ ข้าวสีนิลลักษณะเด่น คือ มีสีม่วงเข้ม ข้าวสีม่วงเข้มจนเกือบดำ ซึ่งเป็นสีของสารรงควัตถุ ที่อุดมไปด้วย “แอนโทไซนานิน” และ “โปรแอนโทไซยานิน” ที่อยู่ในส่วนของปลายจมูกข้าว ทำงานร่วมกันต้านอนุมูลอิสระ โดยปกติ “แอนโทไซนานิน” และ “โปรแอนโทไซยานิน” จะพบมากในพืชหรือผลไม้ที่มีสีม่วง ยิ่งสีเข้มมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระได้ดีขึ้นตามลำดับ แต่จากงานวิจัยพบว่า ในข้าวสีนิล มีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่าผลไม้ในตระกูลเบอรี่ถึง 3 เท่า แอนโทไซยานิน ทำงานได้ดีกว่า วิตามิน E ถึง 5 เท่า ช่วยยับยั้งริ้วรอยอันเกิดก่อนวัย สารสกัดแอนโทไซยานินเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ … Continue reading

คุณค่าคูณสอง เมื่อ “งาดำ”+“ข้าวสีนิล”

หลายคนอาจจะยังไม่รู้จักธัญพืชสีดำ 2 ชนิด อย่าง “งาดำ และ ข้าวสีนิล” ธัญพืชทั้ง 2 ชนิดนี้ นอกจากใช้เป็นอาหารได้แล้ว ยังมีสรรพคุณทางยาหลายอย่างที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งเชื่อว่า ถ้าใครได้รู้จักแล้วต้องหลงรักอย่างแน่นอน เพราะนอกจากจะดีต่อสุขภาพแล้ว ยังช่วยให้ผิวพรรณสดใสเปล่งปลั่งด้วยค่ะ ทำความรู้จักกับ… ข้าวสีนิล ข้าวสีนิล เป็นข้าวที่ได้รับการคัดเลือกจนได้ข้าวที่มีเมล็ดข้าวกล้องเรียวยาว สีม่วงเข้ม สารสกัดจากรำข้าวหอมนิล อุดมไปด้วย น้ำมันธรรมชาติ, วิตามินอี และบี คอมเพล็กซ์ และรงควัตถุแอนโทไซยานิน (anthocyanin) มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระมากว่าในเบอร์รี่ 3 เท่า และมากกว่าวิตามินอีถึง 5 เท่าซึ่ง ช่วยให้ผิวดูอ่อนกว่าวัย เรียกว่าลืมเรื่องริ้วรอยก่อนวัยอันควรไปเลย เพราะสารต้านอนุมูลอิสระลดความเสียหายของผิวหนังที่เกิดจากขบวนการออกซิเดชั่น (oxidation) ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดขบวนการออกซิเดชั่น … Continue reading

เก็บรักษา วิตามิน ให้คงสภาพดี

ปัจจุบันหลายคนมักจะซื้อวิตามิน โดยซื้อวิตามินชนิดต่างๆ มาเก็บไว้รวมๆ กัน บางครั้งวิตามินเหล่านั้นเปลี่ยนสภาพไปจากเดิม สีเปลี่ยนไป บางเม็ดเนื้อยาเริ่มยุ่ย กินยังไม่ทันหมดราคาก็แพง ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่าเก็บไม่ถูกวิธี วิธีการเก็บรักษาที่ถูกต้องเพื่อให้วิตามินนั้นๆ มีสภาพดีอยู่ได้นาน ๆ ไม่เสื่อมสภาพได้ง่ายๆ คือ 1. เก็บไว้ในอุณหภูมิห้อง ไม่ควรเก็บไว้ในบริเวณที่ร้อนจัดหรือเย็นจัด ดูที่ฉลากถ้าไม่ได้บอกว่าเก็บในตู้เย็น ก็ไม่ควรเก็บในตู้เย็น เพราะการเก็บในตู้เย็นอาจจะทำให้วิตามินมีความชื้นได้และเสื่อมสภาพได้ง่าย ยกเว้นถ้าฉลากบอกว่าให้เก็บในตู้เย็น ก็ให้เก็บไว้ช่องหรือบริเวณที่ให้ความเย็นตามปกติ ไม่ควรใส่ไว้ในช่องแช่แข็ง 2. เก็บวิตามินไว้ในที่แห้ง วิตามินทั้งชนิดเม็ดหรือแคบซูลให้เก็บไว้ในที่แห้ง เพื่อหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีความชื้น เช่น ใกล้กับห้องน้ำหรือห้องครัว เพราะความชื้นทำให้ลักษณะทางด้านกายภาพของวิตามินทั้งชนิดเม็ดและแคบซูลเปลี่ยนแปลงเสื่อมสภาพลงได้เร็ว หรือเก็บไว้ในตู้กับข้าว เนื่องจากในครัวส่วนใหญ่อากาศจะร้อนและมีความชื้นมาก ทำให้วิตามินเสื่อมสภาพได้ง่าย 3. เก็บวิตามินไว้ในที่ไม่มีแสงแดด ทั้งนี้เพราะแสงแดดมีผลต่อสภาพความคงทนของวิตามิน และแสงแดดยังทำลายสารที่เป็นองค์ประกอบทางด้านเคมีของวิตามินได้ 4. ปิดฝาขวดให้สนิททุกครั้งที่เปิด เพราะอากาศ … Continue reading

พยาธิสภาพของการกระดูกอ่อนเสื่อม

พยาธิสภาพของการเป็นโรคกระดูกอ่อนเสื่อม… โรคข้อกระดูกเสื่อม หรือ osteoarthritis มีลักษณะการเป็นโรคที่เรื้อรัง โดยจะมีการทำลายของเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนบริเวณข้อกระดูกที่รับน้ำหนักมากๆ เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้จากหลายๆ สาเหตุที่มีการเริ่มต้นของโรคจากการสูญเสียโครงสร้างที่แข็งแรงของกระดูกอ่อน เมื่อเกิดโรคขึ้น ส่งผลกระทบแบบลูกโซ่ โดยอาจจะพบว่ามีการอักเสบที่ใดที่หนึ่ง แล้วทำให้มีการสูญเสียกลไกของเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนต่อไปได้ ทำให้มีการสลายกระดูกอ่อนในทีสุด เกิดเป็นโรคข้อเสื่อมเนื่องจากมีการทำลายเนื้อเยื่อมากกว่าการสร้าง โรคข้อเสื่อมอาจจะเริ่มต้นมาจากอาการของเอ็นกระดูกได้ เช่น stretch หรือ loosen ligaments ซึ่งเป็นสาเหตุของการที่กระดูกไม่เสถียร (unstable) ทำให้กระดูกเคลื่อนที่ได้มากเกินไปหรือเป็นอิสระ ทำให้เกิดแรงเสียดทานขัดสีกันของกระดูกอ่อนมากกว่าที่เป็นปกติ ในทีสุดกระดูกอ่อนก็เสื่อมสลาย ข้อกระดูกมีผลปรับสมดุลย์เพื่อให้เกิดการเสถียรมากขึ้นทำให้มีการงอกหรือเจริญของกระดูกเกิดขึ้น ข้อกระดูกเสื่อมมีลักษณะซับซ้อนมาก เพียงแค่มีการสลายของกระดูกอ่อนก็จะทำให้เกิดการล็อกหรือยึดติดของข้อกระดูกได้ ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาของโรคข้อเสื่อม เช่น ความอ้วน การออกกำลังกายหนักมากเกินไป การอักเสบหรือบาดเจ็บของข้อกระดูก และการขาดวิตามินดี รวมทั้งสาเหตุจากกรรมพันธุ์ จากสถิติจะพบโรคข้อเสื่อมในผู้ชายที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปีมากกว่าผู้หญิง แต่จะพบในผู้หญิง ที่มีอายุ … Continue reading