พยาธิสภาพของการกระดูกอ่อนเสื่อม

พยาธิสภาพของการเป็นโรคกระดูกอ่อนเสื่อม… โรคข้อกระดูกเสื่อม หรือ osteoarthritis มีลักษณะการเป็นโรคที่เรื้อรัง โดยจะมีการทำลายของเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนบริเวณข้อกระดูกที่รับน้ำหนักมากๆ เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้จากหลายๆ สาเหตุที่มีการเริ่มต้นของโรคจากการสูญเสียโครงสร้างที่แข็งแรงของกระดูกอ่อน เมื่อเกิดโรคขึ้น ส่งผลกระทบแบบลูกโซ่ โดยอาจจะพบว่ามีการอักเสบที่ใดที่หนึ่ง แล้วทำให้มีการสูญเสียกลไกของเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนต่อไปได้ ทำให้มีการสลายกระดูกอ่อนในทีสุด เกิดเป็นโรคข้อเสื่อมเนื่องจากมีการทำลายเนื้อเยื่อมากกว่าการสร้าง โรคข้อเสื่อมอาจจะเริ่มต้นมาจากอาการของเอ็นกระดูกได้ เช่น stretch หรือ loosen ligaments ซึ่งเป็นสาเหตุของการที่กระดูกไม่เสถียร (unstable) ทำให้กระดูกเคลื่อนที่ได้มากเกินไปหรือเป็นอิสระ ทำให้เกิดแรงเสียดทานขัดสีกันของกระดูกอ่อนมากกว่าที่เป็นปกติ ในทีสุดกระดูกอ่อนก็เสื่อมสลาย ข้อกระดูกมีผลปรับสมดุลย์เพื่อให้เกิดการเสถียรมากขึ้นทำให้มีการงอกหรือเจริญของกระดูกเกิดขึ้น ข้อกระดูกเสื่อมมีลักษณะซับซ้อนมาก เพียงแค่มีการสลายของกระดูกอ่อนก็จะทำให้เกิดการล็อกหรือยึดติดของข้อกระดูกได้ ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาของโรคข้อเสื่อม เช่น ความอ้วน การออกกำลังกายหนักมากเกินไป การอักเสบหรือบาดเจ็บของข้อกระดูก และการขาดวิตามินดี รวมทั้งสาเหตุจากกรรมพันธุ์ จากสถิติจะพบโรคข้อเสื่อมในผู้ชายที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปีมากกว่าผู้หญิง แต่จะพบในผู้หญิง ที่มีอายุ … Continue reading

ความรู้เรื่องโรคข้ออักเสบ รูมาตอยด์

โรคข้ออักเสบ รูมาตอยด์ เป็นโรคที่ข้อต่างๆ ของร่างกายเกิดการอักเสบปวดบวมขึ้นมา มีการอักเสบขึ้นในเนื้อเยื่อที่บุอยู่ในข้อ รูมาตอยด์เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่งซึ่งในปัจจุบันยังไม่ทราบต้นเหตุที่แท้จริงของโรค แต่พบว่ามีส่วนที่เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรม ซึ่งไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้เกิดการทำงานผิดปกติเกิดการต่อต้านเนื้อเยื่อของตนเองจนเกิดอาการปวดข้อ ข้อแตกต่างจากการปวดธรรมดาก็คือ ในโรคนี้ การอักเสบนั้นเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ดังนั้นหากปล่อยให้โรคดำเนินต่อไปเรื่อยๆโดยที่ไม่ได้จัดการกับสาเหตุ เนื้อเยื่อของข้อนั้นๆจะเกิดการอักเสบและกัดกร่อน ซึ่งนำไปสู่การผิดรูปของอวัยวะ อาการของผู้ป่วยเป็นรูมาตอยด์ จะมีอาการปวดและบวมที่ข้อ โดยมากจะเริ่มต้นที่ข้อมือและข้อนิ้วมือก่อน ต่อมาอาจลามไปยังข้ออื่นๆ ทั่วร่างกาย เช่น ข้อศอก, ข้อไหล่, ข้อนิ้วเท้า, ข้อเท้า และข้อเข่า เป็นต้น การรักษาโรครูมาตอยด์ ทำได้ 2 วิธี ดังนี้ 1. การรักษาแก้อาการปวดและอักเสบ 2. การรักษาป้องกันไม่ให้ข้อเสื่อมสลายจนพิการ เมื่อปวด ก็ต้องให้ยาแก้ปวด หมอมักรักษาไปตามอาการ แล้วดูว่ายาแก้ปวด แก้อักเสบจะได้ผลไหม … Continue reading