งาดำ (sesame)มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Sesamun Indicum Linn. จัดอยู่ใน วงศ์ Pedaliaceae ชื่อสามัญที่รู้จักกันคือ sesame เป็นพืชล้มลุก ลำต้นสูงประมาณ 0.5 – 2.5 เมตร ดอกสีขาว ผลเป็นฝัก ภายในมีเมล็ดเล็กๆ (งา มีทั้งพันธุ์สีขาว สีดำ และสีแดง แต่สีแดงไม่ค่อยเป็นที่นิยม) งาเป็นธัญพืชที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีคุณ ประโยชน์สูงมาก โดยเฉพาะงาดำ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศเอธิโอเปีย ต่อมาถูก นำไปปลูกที่อินเดีย และแพร่ต่อไปที่จีน แอฟริกาเหนือ เอเชียใต้ และ ทวีปอเมริกา
คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์ของงานั้นมีสูงมาก เนื่อง จากในเมล็ดงามีโปรตีนสูงถึง 20% ประกอบด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายถึง 2 ชนิดคือ เมธิโอนีน ( Methionine) และ ทริปโตเฟน (Tryptophan) อีกทั้งมี ไขมันไม่อิ่มตัวถึง 80% จึงสามารถสกัดเป็นน้ำมันคุณภาพดีที่มีทั้งกรดไขมันโอเมก้า 3 ,โอเมก้า 6 , กรดโอเลอิก และ กรดไลโนเลอิก ซึ่งมีคุณสมบัติในการช่วยสมดุลย์ คอเลสเตอรอล หลอดเลือด , ช่วยให้อวัยวะภายในแข็งแรง , บำรุงเซลล์, บำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื้น และบำรุงรากผมช่วยทำให้ดกดำ
นอกจากนี้ เมล็ดงายังอุดมด้วยแร่ธาตุและวิตามินมากมาย เช่น มีแคลเซียมสูง กว่านมวัวถึง 6 เท่า มีธาตุเหล็ก, แมกนีเซียม, สังกะสี, ฟอสฟอรัส, โปแตสเซียม, ทองแดง และวิตามินบี ชนิดต่างๆ ที่ช่วยบำรุงระบบประสาท การบริโภคงาดำเป็น ประจำจึงทำให้สุขภาพดี เพราะช่วยเสริมการทำงานของระบบต่างๆ ที่สำคัญในร่างกาย ด้วยคุณค่าที่ประจักษ์มาช้านานนี้ งาจึงเป็นอาหารและยาที่ใช้กันแพร่หลายในแทบทุก ภูมิภาคของโลก
สารสำคัญที่พบได้มากในงาดำ คือ ลิกแนน (Lignans) โดยพบว่า sesame lignan มีความสำคัญคือ ทำหน้าที่ในการป้องกันตัวจากแมลง และทำหน้าที่เป็น anti-oxidant และฆ่าแมลง (Insecticides)ด้วย เซซามิน (Sesamin) เป็นสารลิกแนนที่มีมากที่สุดในเมล็ดงา
สารเซซามิน เป็นสารลิกแนน ( lignans ) ชนิดหนึ่งในงาดำซึ่งมีปริมาณมากที่สุด สารดังกล่าวคือ สารชีวโมเลกุลที่ทำหน้าที่ป้องกันตัวเองจากศัตรูพืช รายงานวิจัยมาก มายต่างค้นพบว่า สารเซซามิน มีคุณสมบัติทางชีวภาพสูงมาก โดยสามารถสรุปได้ดังนี้
- กระตุ้นการเผาผลาญไขมัน ( Fatty Acid Oxidation )
- ปรับสมดุล คอเลสเตอรอล (Reduction of Cholesterol ) ทั้งในด้านการยับยั้งการสังเคราะห์ และการดูดซึม
- ปรับสมดุล ไขมันในเลือด ( Hypolipidemic Effect )
- เสริมประสิทธิภาพของวิตามินอีเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า (Enhancement of Vitamin E ) เหมาะสำหรับพัฒนาเป็นเครื่องสำอาง
- ยับยั้งปฏิกริยาการเติมออกซิเจนของอะมีลอยด์โปรตีน ( Neuroprotective Effect ) เป็นกลไกที่ช่วย เซลล์ความทรงจำ
- ปรับสมดุล ภาวะพร่องออกซิเจน (Effect on Hypoxic and Oxidative Stress )
- มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง ( Antioxidant Effect )
- มีฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบ ( Anti – Inflammatory Effect )
จากการศึกษาวิจัย ทำให้ค้นพบสรรพคุณของสารเซซามิน ว่าสามารถช่วยยับยั้ง การเสื่อมสลายของกระดูกอ่อน โดยเริ่มต้นจากคุณสมบัติในด้านการต่อต้านการอักเสบ และการวิจัยในห้องทดลองทำให้พบกลไก การทำงานของสารเซซามิน ที่มีฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบได้ทุกชนิด
– สารเซซามินจากเมล็ดงาดำ สามารถลดการสลายของเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนได้ โดยพบว่า กลไกนั้นเกินจากการไปยับยั้งการส่งสัญญาณของสาร pro-inflamamatory cytokine ชนิด (inter leukin-1 beta) IL-1 beta ซึ่งเป็นตัวหลักที่ก่อให้เกิดการอักเสบภายในเนื้อเยื่อกระดูกอ่อน
– สารเซซามินจากเมล็ดงาดำ สามารถเพิ่มความสามารถของเซลล์ Osteoblast ในการสร้างเนื้อเยื่อกระดูกได้ โดยเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างกระดูกออสทีโอบลาส (Osteoblast) ทำหน้าที่ลดลง ในขณะที่เซลล์ที่ทำหน้าที่สลายกระดูกออสทีโอคลาส (Osteoclast) ทำหน้าที่มากขึ้น
– สารเซซามินจากเมล็ดงาดำ สามารถไปกระตุ้นให้เซลล์ผิวหนังสามารถสังเคราะห์คอลลาเจน และกรดไฮยาลูโรนิก ซึ่งเป็นสารที่ทำให้ผิวหนังยืดหยุ่นได้ดี ช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื้น
– สารเซซามินในเมล็ดงาดำ ช่วยให้เซลล์ฟื้นตัวได้ดีขึ้น (Promote Liver Regebration) เสริมประสิทธิภาพในการกำจัดแอลกอฮอล์ประเภท ethanol รวมทั้งกระตุ้นเอนไซม์กูลต้าไทโอน รีดัคเตส
– สารเซซามินในเมล็ดงาดำ ช่วยยับยั้งเซลล์ที่ขยายตัวเร็ว โดยทำให้เซลล์ดังกล่าวมีอายุสั้นลง จากการทดลองในห้องปฏิบัติการผลปรากฏว่า สารเซซามิน สามารถลดการแสดงออกของโปรตีน Cyclin D1 ได้โดยการไปกระตุ้นการสลาย Proteasome เมื่อ Cyclin D1 หมดฤทธิ์ เซลล์ที่ขยายตัวเร็ว ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการสลายตัวเองตามปกติ ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ขยายตัวเร็ว
– สารเซซามินในเมล็ดงาดำ มีฤทธิ์ยับยั้งการเกิด Cytokine storm อันเป็นปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายที่รุนแรงกว่าปกติ ในการโจมตีเชื้อโรค จนทำให้เกิดการสะสมสารที่จะใช้ทำลายเชื้อโรคมากเกินไปในปอด ทำให้สารทำลายเชื้อโรคที่ร่างกายผลิตขึ้นมีปริมาณที่สมดุล ลดการอักเสบ
สนใจผลิตภัณฑ์เซซามิน สารสกัดงาดำ โดย ศ.ดร. ปรัชญา คงทวีเลิศ โทรเลย 086 604 7044