ความรู้เรื่องโรคข้ออักเสบ รูมาตอยด์

โรคข้ออักเสบ รูมาตอยด์ เป็นโรคที่ข้อต่างๆ ของร่างกายเกิดการอักเสบปวดบวมขึ้นมา มีการอักเสบขึ้นในเนื้อเยื่อที่บุอยู่ในข้อ รูมาตอยด์เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่งซึ่งในปัจจุบันยังไม่ทราบต้นเหตุที่แท้จริงของโรค แต่พบว่ามีส่วนที่เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรม ซึ่งไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้เกิดการทำงานผิดปกติเกิดการต่อต้านเนื้อเยื่อของตนเองจนเกิดอาการปวดข้อ ข้อแตกต่างจากการปวดธรรมดาก็คือ ในโรคนี้ การอักเสบนั้นเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ดังนั้นหากปล่อยให้โรคดำเนินต่อไปเรื่อยๆโดยที่ไม่ได้จัดการกับสาเหตุ เนื้อเยื่อของข้อนั้นๆจะเกิดการอักเสบและกัดกร่อน ซึ่งนำไปสู่การผิดรูปของอวัยวะ อาการของผู้ป่วยเป็นรูมาตอยด์ จะมีอาการปวดและบวมที่ข้อ โดยมากจะเริ่มต้นที่ข้อมือและข้อนิ้วมือก่อน ต่อมาอาจลามไปยังข้ออื่นๆ ทั่วร่างกาย เช่น ข้อศอก, ข้อไหล่, ข้อนิ้วเท้า, ข้อเท้า และข้อเข่า เป็นต้น การรักษาโรครูมาตอยด์ ทำได้ 2 วิธี ดังนี้ 1. การรักษาแก้อาการปวดและอักเสบ 2. การรักษาป้องกันไม่ให้ข้อเสื่อมสลายจนพิการ เมื่อปวด ก็ต้องให้ยาแก้ปวด หมอมักรักษาไปตามอาการ แล้วดูว่ายาแก้ปวด แก้อักเสบจะได้ผลไหม … Continue reading

โรงพยาบาลธรรมชาติ

๑. ไขมันในเลือดสูง แทนที่จะหายามากินให้ปวดหัว ตับพัง ก็หากระเทียมสดมากินสักวันละ ๑๐ กลีบกับกินหอมหัวใหญ่สดวันละครึ่งหัว ๒. ปวดหัว ให้หาผักคะน้าหรือปวยเล้ง (แมกนีเซียม) กินวันละ ๕ ขีดและ กินปลาทูอีกวันละ ๒ ตัว (น้ำมันปลาลดการอักเสบได้) หรือจะชงโกโก้กินหน่อยก็ช่วยได้ค่ะ ๓. เป็นหวัด ไอ จามบ่อย ให้หมั่นแปรงลิ้นและกิน กระเทียม หอม พริกให้มากเข้าไว้ ๔. ภูมิแพ้ แค่กินฝรั่งวันละ ๕ ชิ้นกับเมล็ดฟักทองวันละ ๑ กำมือ (สังกะสี) ๕. แพ้ฝุ่นละออง ไรฝุ่น หาโยเกิร์ตแบบรสธรรมชาติและนมเปรี้ยวไม่หวานจัดมากิน ๖.โรคหืดหอบ … Continue reading

การอักเสบ: ภัยเงียบในร่างกาย กันไว้ดีกว่าแก้

เกือบจะทุกคนที่ไปร้านขายยา เภสัชกรประจำร้านก็จะถามว่า ต้องการยาอะไร? คนที่ไปซื้อยาก็มักจะตอบเป็นคำตอบแรกว่า ต้องการยาแก้อักเสบ แม้แต่หมอเอง เมื่อจ่ายยาให้คนไข้ บางครั้งก็เขียนคำว่า แก้อักเสบ แล้วการอักเสบมันคืออะไร ? การอักเสบ หรือ inflammation เป็นขบวนการที่ร่างกายเรามีปฏิกิริยาตอบสนอง ต่อขบวนการที่ผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายในระดับโมเลกุล การอักเสบจะเริ่มต้นจาก ต้นตอของการอักเสบ ที่เรียกได้ว่าเป็นตัวกระตุ้น หรือ inducer จากนั้นก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี เป็นวิถีของการอักเสบ หรือ inflammation cascade โดยมีเอ็นไซม์ ย่อยไขมันส่วนที่อยู่บนผิวเซลล์ ทำให้เกิดเป็นการเปลี่ยนแปลงระดับโมเลกุล ที่มีการกระจายตัวออกไปเป็นสายธารหรือ pathway ซึ่งต้องอาศัยเอ็นไซม์ในขั้นตอนต่าง ๆ เช่น delta-5-desaturase, COX1, และ COX2 เป็นต้น ในที่สุดก็ได้เป็นสารสื่ออักเสบ … Continue reading

จงกล้าที่จะล้มเหลว

“หากคุณต้องการสำเร็จหนึ่งเท่าตัว จงเพิ่มความล้มเหลวเป็นสองเท่าตัว” โทมัส วัตสัน จูเนียร์ – ผู้ก่อตั้ง IBM ผู้ประสบความสำเร็จ จากต่างวงการ ต่างคนละฝั่งโลก พูดตรงกันเลยใช่ไหมครับ หลายครั้งที่เราพบคนที่ต้อง “รอ” ให้ทุกอย่าง “พร้อม” ก่อน แต่สุดท้าย ก็ไม่ลงมือทำอะไรเลย! กาลเวลาที่เสียไปโดยไม่ทำอะไรนั้น เสียหายยิ่งกว่าการล้มเหลวซะอีก เพราะถ้าไม่ล้มเหลว คุณก็ไม่ได้ประสบการณ์ ชีวิตก็ไปไหนไม่ได้ ดังเช่น ไอนสไตน์ บอกว่า… “แหล่งความรู้เพียงอย่างเดียวของเราคือ ประสบการณ์” แต่ถ้าจะล้มเหลว จง “เลือก” เส้นทางล้มเหลว ที่มีทางถอยกลับด้วย หมายความว่า เมื่อจะทำธุรกิจใดๆ ก็ตาม วางแผนกลยุทธ์ใดๆ ก็ตาม ควรถามตนเองเสมอๆ … Continue reading