งานวิจัยชี้แมมโมแกรมมะเร็งเต้านม มีโทษมากกว่าประโยชน์ ผลการวิจัยต่างประเทศล่าสุดชี้การตรวจหามะเร็งเต้มนมด้วย “ระบบแมมโมแกรม-เอ็กซ์เรย์” อาจให้โทษมากกว่าประโยชน์ ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการเอ็กซ์เรย์เพื่อตรวจหามะเร็งเต้านม หรือการทำแมมโมแรมราวๆ 37 ล้านรายต่อปี และเกือบสามในสี่ของผู้หญิงในวัยตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป เข้ารับการทำแมมโมแกรมในช่วงปีที่ผ่านมา คำถามที่นักวิจัยทางการแพทย์ต้องการหาคำตอบ คือ การตรวจพบมะเร็งเต้านมที่เล็กมากจนใช้มือคลำไม่พบ แต่ใช้ mammogram ตรวจพบนั้น ช่วยป้องกันการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งเต้านมอย่างได้ผลจริงหรือไม่ มีงานวิจัยเรื่องแมมโมแกรมที่กระทำในประเทศแคนาดา ซึ่งถือเป็นงานใหญ่ที่สุดและละเอียดรอบคอบมากที่สุดชิ้นหนึ่ง โดยมีผู้หญิงเข้าร่วมโครงการ 90,000 รายและใช้เวลาติดตามศึกษานานถึง 25 ปี และผลการวิจัยชิ้นนี้ที่เพิ่งเปิดเผยออกมา ระบุว่า อัตราการเสียชีวิตของผู้หญิงจากโรคมะเร็งเต้านมและจากโรคอื่นๆ ไม่แตกต่างกันไม่ว่าจะได้รับการทำแมมโมแกรมหรือไม่ งานวิจัยชิ้นนี้กล่าวต่อไปด้วยว่า การทำแมมโมแกรมยังให้โทษได้อีกด้วย เพราะพบว่า หนึ่งในห้าของผู้ที่การทำแมมโมแกรมระบุว่าเป็นมะเร็งและต้องรับการบำบัดรักษานั้น ปรากฏว่ามะเร็งที่ตรวจพบ ไม่เป็นภัยต่อสุขภาพและไม่จำเป็นต้องบำบัดรักษาด้วยการทำเคมีบำบัด การผ่าตัด หรือการฉายรังสี … Continue reading