เป้าหมายใหม่เพื่อโจมตีมะเร็ง

การรักษามะเร็งแบบ “คีโม” ยังคงเป็นวิธีรักษาที่คุ้นชินสำหรับทุกวันนี้ แต่ทิศทางการรักษาในอนาคตคือการมุ่งโจมตีที่เซลล์มะเร็งโดยไม่ส่งผลข้างเคียงต่อเซลล์ปกติ เพื่อรักษาชีวิตผู้ป่วยให้ยืนยาว เพราะหลายครั้งผู้ป่วยไม่ได้เสียชีวิตเพราะเนื้อร้าย แต่จากไปเพราะตัวยาที่ทำลายเซลล์ดีๆ ในร่างกาย ก่อนหน้านี้โลกให้ความสนใจในการรักษามะเร็งแบบเจาะจง (Targeted Therapy) โดยมุ่งโจมตีโปรตีนที่เรียกว่า cyclin-CDK4 ซึ่งเป็นโปรตีนที่พบว่ามีมากผิดปกติในเซลล์มะเร็ง แต่เมื่อครั้งยังเป็นนักวิจัยประจำสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล ดร.ศิวนนท์ จิรวัฒโนทัย ได้ศึกษาวิจัยและพบโปรตีนที่น่าสนใจอีกตัวชื่อ cyclin D1 และน่าจะเป็นเป้าหมายใหม่ในการกำจัดเซลล์มะเร็ง หนึ่งในปัญหาของการรักษามะเร็งคือการดื้อยา ซึ่งแม้จะยับยั้งโปรตีน cyclin-CDK4ได้แล้วแต่พบว่าไม่ได้หยุดการดื้อยา ซึ่งจากการศึกษาของนักวิจัยไทย พบว่า นอกจากโปรตีน cyclin D1 ทำให้เซลล์มะเร็งแบ่งตัวแบบผิดปกติแล้ว ยังทำให้มะเร็งดื้อยาด้วย จึงเล็งว่าโปรตีนตัวนี้อาจเป็นเป้าหมายในการรักษามะเร็งแบบเจาะจง ดร.ศิวนนท์ สนใจโปรตีนดังกล่าวเพราะพบว่าในคนที่เป็นมะเร็งมีโปรตีนชนิดนี้ผิดปกติทั้งแง่ปริมาณและการทำงาน และยังพบว่าผู้ป่วยมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งลำไส้ … Continue reading